1.1 ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม
1. มีการบริหารงานอย่างอิสระ ผู้บริหารเป็นเจ้าของกิจการเอง
2. เงินลงทุนมาจาการเก็บออมส่วนตัว หรือได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนเล็ก ๆ
3. เป็นการดำเนินงานในท้องถิ่น โดยใช้แรงงานและทรัพยากรในท้องถิ่นนั้น ๆ
4. เป็นธุรกิจขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกันทั้งด้าน เงินทุน แรงงาน ทรัพย์สินและยอดขาย
5. เจ้าของกิจการทำงานหนัก มีความอดทนสูง
6. สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
7. ต้นทุนการดำเนินงานต่ำ ใช้เครื่องมือเครื่องจักรแบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน
1.2 ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจขนาดย่อมมีการกระจายอยู่ทั่วประเทศ เนื่องจากมีขนาดเล็กดำเนินงานได้ง่าย จึงมีบทบาทสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศดังนี้
1. สร้างงานใหม่ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้เกิดภาวะคนว่างงาน จำเป็นต้องหาอาชีพใหม่ให้กับตนเอง ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากธุรกิจขนาดย่อม เพราะต้นทุนการดำเนินงานต่ำ แรงงานใช้จากบุคคลในครอบครัว มีความเป็นอิสระในการทำงาน ฯลฯ และธุรกิจขนาดย่อมสามารถเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตต่อไปได้
2. สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ธุรกิจขนาดย่อมเป็นองค์กรของผู้ผลิตรายใหม่ที่มีความพยายามสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยการลองถูกลองผิด ก่อนที่จะขยายกิจการเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการยอมรับ เช่น การผลิตสบู่สมุนไพร การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ฯลฯ
3. เพิ่มการแข่งขัน การมีธุรกิจขยดย่อมเข้ามาในตลาด ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ธุรกิจขนาดย่อมจึงมีส่วนเพิ่มระดับการแข่งขันในทางเศรษฐกิจ
4. สนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดย่อมมีส่วนช่วยเหลือและสนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยในการผลิต การจัดจำหน่าย การหาข้อมูลทางการตลาด ฯลฯ
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการความปราณีตการใช้ฝีมือและทักษะ ธุรกิจขนาดย่อมจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสามารถในการประกอบการ
6. เป็นการกระจายการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันการดำเนินงานของธุรกิจขนาดย่อมมีกระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ย่อมมีบทบาทในการส่งเสริมการกระจายรายได้ และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
7. เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธุรกิจขนาดย่อมสามารถนำบุคคลซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถมาถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ เป็นการอนุรักษ์ความรู้ถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังได้ศึกษาและพัฒนาผลผลิต เช่น การผลิตสินค้าพื้นบ้านประเภทหัตถกรรมของชุมชน เช่น การสานไม้ไผ่ การทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นต้น
8. เป็นการระดมทุน ธุรกิจขนาดย่อมเป็นการรวบรวมเงินทุนของผู้ประกอบการและญาติพี่น้อง ก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการระดมทุน
1.3 ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือบุคคลที่จัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นโดยยอมรับความเสี่ยงภัยเพื่อหวังกำไร เหตุผลสำคัญที่ทำให้บุคคลประสงค์จะเป็นเจ้าของกิจการเองได้แก่
1. ผลกำไร การเป็นเจ้าของกิจการจะทำให้ได้รับผลกำไรอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องแบ่งปันให้บุคคลอื่น ซึ่งสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้กับเจ้าของกิจการได้เป็นอย่างดี
2. ความพึงพอใจส่วนบุคคล ผู้ประกอบการธุรกิจต้องการทำงานที่มีความพึงพอใจ และสนุกกับการแก้ไขปัญหา
3. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว การประกอบธุรกิจขนาดย่อมเกิดจากบุคคลในครอบครัวร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี และความรับผิดชอบ ตลอดจนความสัมพันธ์ทีดีภายในครอบครัว
4. มีอิสระในการทำงาน การประกอบธุรกิจด้วยตนเองย่อมมีอิสระในการทำงานด้วยการเลือกเวลาการทำงาน อาชีพ การลงทุน การจัดการด้วยตนเอง
5. เป็นที่ยอมรับของสังคม เจ้าของกิจการย่อมมีสถานภาพทางสังคมที่ดี เป็นที่ยอมรับนับถือของชุมชน สังคมในท้องถิ่น เช่น เป็นสมาชิกสมาคมต่าง ๆ
1.4 คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
บุคคลที่มีความสนใจ และเตรียมตัวเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม ต้องมีคุณสมบัติของนักธุรกิจที่ดี คือ
1. มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานอาชีพ จากการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานจะทำให้มีความรู้และประสบการณ์พื้นฐาน สามารถนำมาประยุกต์กับธุรกิจของตนเองได้
2. มีความพร้อมที่จะทำงานหนัก มีความอดทน
3. มีมนุษยสัมพันธ์ มีอัธยาศัยที่ดีกับบุคคลทั่วไป
4. สื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. มีภาวะผู้นำ
6. มีความภาคภูมิใจในผลงาน
7. มีความรับผิดชอบ
8. กล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
สรุปคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการความสำเร็จ คือ มีความพร้อมด้านจิตใจ ความรู้ความสามารถ มีมนุษยสัมพันธ์ ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และความสามารถในการบริหารจัดการ
1.5 ประเภทของธุรกิจขนาดย่อมที่ประสบความสำเร็จ
1. การอบรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
2. การขายอาหาร
3. การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
4. การดูแลรักษาสุขภาพ
5. การซักอบรีด
6. การขายกาแฟ
7. การขายโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
1. มีการบริหารงานอย่างอิสระ ผู้บริหารเป็นเจ้าของกิจการเอง
2. เงินลงทุนมาจาการเก็บออมส่วนตัว หรือได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนเล็ก ๆ
3. เป็นการดำเนินงานในท้องถิ่น โดยใช้แรงงานและทรัพยากรในท้องถิ่นนั้น ๆ
4. เป็นธุรกิจขนาดเล็ก เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกันทั้งด้าน เงินทุน แรงงาน ทรัพย์สินและยอดขาย
5. เจ้าของกิจการทำงานหนัก มีความอดทนสูง
6. สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
7. ต้นทุนการดำเนินงานต่ำ ใช้เครื่องมือเครื่องจักรแบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน
1.2 ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจขนาดย่อมมีการกระจายอยู่ทั่วประเทศ เนื่องจากมีขนาดเล็กดำเนินงานได้ง่าย จึงมีบทบาทสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศดังนี้
1. สร้างงานใหม่ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทำให้เกิดภาวะคนว่างงาน จำเป็นต้องหาอาชีพใหม่ให้กับตนเอง ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากธุรกิจขนาดย่อม เพราะต้นทุนการดำเนินงานต่ำ แรงงานใช้จากบุคคลในครอบครัว มีความเป็นอิสระในการทำงาน ฯลฯ และธุรกิจขนาดย่อมสามารถเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตต่อไปได้
2. สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ธุรกิจขนาดย่อมเป็นองค์กรของผู้ผลิตรายใหม่ที่มีความพยายามสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยการลองถูกลองผิด ก่อนที่จะขยายกิจการเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการยอมรับ เช่น การผลิตสบู่สมุนไพร การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ฯลฯ
3. เพิ่มการแข่งขัน การมีธุรกิจขยดย่อมเข้ามาในตลาด ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ธุรกิจขนาดย่อมจึงมีส่วนเพิ่มระดับการแข่งขันในทางเศรษฐกิจ
4. สนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดย่อมมีส่วนช่วยเหลือและสนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ในด้านต่าง ๆ เช่น ช่วยในการผลิต การจัดจำหน่าย การหาข้อมูลทางการตลาด ฯลฯ
5. เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการความปราณีตการใช้ฝีมือและทักษะ ธุรกิจขนาดย่อมจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสามารถในการประกอบการ
6. เป็นการกระจายการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันการดำเนินงานของธุรกิจขนาดย่อมมีกระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ย่อมมีบทบาทในการส่งเสริมการกระจายรายได้ และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
7. เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธุรกิจขนาดย่อมสามารถนำบุคคลซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถมาถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ เป็นการอนุรักษ์ความรู้ถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังได้ศึกษาและพัฒนาผลผลิต เช่น การผลิตสินค้าพื้นบ้านประเภทหัตถกรรมของชุมชน เช่น การสานไม้ไผ่ การทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม เป็นต้น
8. เป็นการระดมทุน ธุรกิจขนาดย่อมเป็นการรวบรวมเงินทุนของผู้ประกอบการและญาติพี่น้อง ก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการระดมทุน
1.3 ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) คือบุคคลที่จัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นโดยยอมรับความเสี่ยงภัยเพื่อหวังกำไร เหตุผลสำคัญที่ทำให้บุคคลประสงค์จะเป็นเจ้าของกิจการเองได้แก่
1. ผลกำไร การเป็นเจ้าของกิจการจะทำให้ได้รับผลกำไรอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องแบ่งปันให้บุคคลอื่น ซึ่งสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้กับเจ้าของกิจการได้เป็นอย่างดี
2. ความพึงพอใจส่วนบุคคล ผู้ประกอบการธุรกิจต้องการทำงานที่มีความพึงพอใจ และสนุกกับการแก้ไขปัญหา
3. สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว การประกอบธุรกิจขนาดย่อมเกิดจากบุคคลในครอบครัวร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี และความรับผิดชอบ ตลอดจนความสัมพันธ์ทีดีภายในครอบครัว
4. มีอิสระในการทำงาน การประกอบธุรกิจด้วยตนเองย่อมมีอิสระในการทำงานด้วยการเลือกเวลาการทำงาน อาชีพ การลงทุน การจัดการด้วยตนเอง
5. เป็นที่ยอมรับของสังคม เจ้าของกิจการย่อมมีสถานภาพทางสังคมที่ดี เป็นที่ยอมรับนับถือของชุมชน สังคมในท้องถิ่น เช่น เป็นสมาชิกสมาคมต่าง ๆ
1.4 คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
บุคคลที่มีความสนใจ และเตรียมตัวเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม ต้องมีคุณสมบัติของนักธุรกิจที่ดี คือ
1. มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานอาชีพ จากการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานจะทำให้มีความรู้และประสบการณ์พื้นฐาน สามารถนำมาประยุกต์กับธุรกิจของตนเองได้
2. มีความพร้อมที่จะทำงานหนัก มีความอดทน
3. มีมนุษยสัมพันธ์ มีอัธยาศัยที่ดีกับบุคคลทั่วไป
4. สื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. มีภาวะผู้นำ
6. มีความภาคภูมิใจในผลงาน
7. มีความรับผิดชอบ
8. กล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ
สรุปคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการความสำเร็จ คือ มีความพร้อมด้านจิตใจ ความรู้ความสามารถ มีมนุษยสัมพันธ์ ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และความสามารถในการบริหารจัดการ
1.5 ประเภทของธุรกิจขนาดย่อมที่ประสบความสำเร็จ
1. การอบรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
2. การขายอาหาร
3. การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
4. การดูแลรักษาสุขภาพ
5. การซักอบรีด
6. การขายกาแฟ
7. การขายโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ
1.6 การสร้างความสำเร็จของธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจขนาดย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จต้องอาศัยปัจจัยต่อไปนี้
1. เงินทุน ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนการใช้เงินทุน การหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินธุรกิจ เช่น จากเงินออมส่วนตัว เงินกู้ยืมจากสถานบันการเงิน เช่น ธนาคารอมสิน ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เป็นต้น
2. บุคลกร ผู้ประกบอาจจะต้องหาบุคคลเข้ามาร่วมงานด้วยการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือตลาดจนให้แรงจูงใจที่เหมาะสม เช่น ค่าตอบแทนที่ดี เหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์
3. การตลาด ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมจะต้องมีความรู้ด้านการตลาด เพื่อให้ทราบความต้องการของผู้บริโภค คุณภาพและปริมาณผลิตภัณฑ์ ตลาดจนราคาและสถานที่จำหน่าย เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
4. มีข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องรู้จักศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างรอบคอบ เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจได้ถูกต้อง
5. ความยืดหยุ่น โครงสร้างของธุรกิจขนาดย่อมมีขอบข่ายแคบ ผู้ประกอกการมีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว
6. พัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตลอดเวลา เนื่องจากผู้ประกอบการมีอำนาจการตัดสินใจด้วยตนเอง ทันต่อความต้องการ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
7. มีความสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมสามารถสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี รู้จักความต้องการของลูกค้า สามารถสร้างความพึงพอใจในการให้บริการได้ถูกต้อง
8. คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ธุรกิจขนาดย่อมมีโอกาสพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ตามความพึงพอใจของลูกค้า สามารถรักษาลูกค้า เพิ่มยอดขายและมีผลกำไร
1.7 สาเหตุของความล้มเหลวของธุรกิจขนาดย่อม
1. ปัญหาด้านการจัดการ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการจัดการ เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมเป็นกิจการของตนเอง จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในทุก ๆ ด้าน เช่น ความเป็นผู้นำ รู้จักการวางแผนที่ดี การนำเสนอขายและให้บริการลูกค้า เป็นต้น
2. ปัญหาด้านการเงิน การประกอบธุรกิจขนาดย่อม ผู้ประกอบการ คือ เจ้าของกิจการการควบคุมด้านการเงินไม่มีมาตรการที่ดีพอ ก่อให้เกิดการขาดแคลนเงินทุน มีการรั่วไหลของการใช้จ่ายทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจึงทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ง่าย
ธุรกิจขนาดย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จต้องอาศัยปัจจัยต่อไปนี้
1. เงินทุน ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนการใช้เงินทุน การหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินธุรกิจ เช่น จากเงินออมส่วนตัว เงินกู้ยืมจากสถานบันการเงิน เช่น ธนาคารอมสิน ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เป็นต้น
2. บุคลกร ผู้ประกบอาจจะต้องหาบุคคลเข้ามาร่วมงานด้วยการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือตลาดจนให้แรงจูงใจที่เหมาะสม เช่น ค่าตอบแทนที่ดี เหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์
3. การตลาด ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมจะต้องมีความรู้ด้านการตลาด เพื่อให้ทราบความต้องการของผู้บริโภค คุณภาพและปริมาณผลิตภัณฑ์ ตลาดจนราคาและสถานที่จำหน่าย เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
4. มีข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องรู้จักศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างรอบคอบ เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจได้ถูกต้อง
5. ความยืดหยุ่น โครงสร้างของธุรกิจขนาดย่อมมีขอบข่ายแคบ ผู้ประกอกการมีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว
6. พัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตลอดเวลา เนื่องจากผู้ประกอบการมีอำนาจการตัดสินใจด้วยตนเอง ทันต่อความต้องการ และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
7. มีความสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมสามารถสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี รู้จักความต้องการของลูกค้า สามารถสร้างความพึงพอใจในการให้บริการได้ถูกต้อง
8. คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ธุรกิจขนาดย่อมมีโอกาสพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ตามความพึงพอใจของลูกค้า สามารถรักษาลูกค้า เพิ่มยอดขายและมีผลกำไร
1.7 สาเหตุของความล้มเหลวของธุรกิจขนาดย่อม
1. ปัญหาด้านการจัดการ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการจัดการ เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมเป็นกิจการของตนเอง จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในทุก ๆ ด้าน เช่น ความเป็นผู้นำ รู้จักการวางแผนที่ดี การนำเสนอขายและให้บริการลูกค้า เป็นต้น
2. ปัญหาด้านการเงิน การประกอบธุรกิจขนาดย่อม ผู้ประกอบการ คือ เจ้าของกิจการการควบคุมด้านการเงินไม่มีมาตรการที่ดีพอ ก่อให้เกิดการขาดแคลนเงินทุน มีการรั่วไหลของการใช้จ่ายทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจึงทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น