ธุรกิจ หมายถึง
การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการบริการ ธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชน เป็นเจ้าของ
ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใด ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล
ของบุคคล หรือธุรกิจอื่น มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ และมีพนักงานจำนวนไม่มาก
ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
1.
ธุรกิจขนาดย่อม
ช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม
เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมช่วยให้เกิดการกระจายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ
ไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ ทำให้เกิดการจ้างงานและประชาชน มีรายได้
ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
2.
ธุรกิจขนาดย่อม
เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่เพราะความเจริญก้าวหน้าของ ธุรกิจขนาดย่อมทำให้ธุรกิจมั่นคงมียอดการผลิตที่สูงขึ้น
และมีการนำเทคโนโลยี ที่สูงขึ้นมาใช้ในการผลิตซึ่งสิ่งเหล่านี้
เป็นฐานไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่
3.
ธุรกิจขนาดย่อม เป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ ๆ
เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิด และผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด โดยที่ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยง
ต่อการลงทุน
SME คืออะไร?
คำว่า SME นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการของภาษาไทย คือ “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” นั่นเอง.
คงเคยได้ยิน
ได้ฟังกันมาบ้างแล้ว และอาจจะสงสัย หรือว่ามึนงง ไอ้เจ้า “SME” แท้ที่จริงนั้น sme คืออะไร กันแน่
ทำไมผู้ใหญ่หลายท่าน ถึงพยายามที่จะช่วยกัน ส่งเสริมและผักดันให้มีการลงทุน
ในธุรกิจSME
คำว่า SME นั้นเป็นคำย่อ
ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง
สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”
นั่นเอง
สำหรับประเทศไทย
ได้มีกฎหมาย ธุรกิจSME ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว
ซึ่งเรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ. 2543
โดยตาม กฎหมายฉบับนี้นั้น ได้ให้อำนาจ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำหนดว่า ใครบ้างที่จะได้ ขึ้นชื่อว่า
เข้าข่ายเป็น ธุรกิจSMEซึ่งจะประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวง
ก่อนหน้านี้ จะใช้เกณฑ์ ในการวัดว่า ธุรกิจไหนเป็น SME
ดังนี้คือ
·
กิจการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตหรือบริการ
มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน สองร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สองร้อยคน
·
กิจการค้าส่ง ที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน
หนึ่งร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน ห้าสิบคน
·
กิจการค้าปลีก ที่มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน
หกสิบล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สามสิบคน
เอสเอ็มอี (SME หรือ SMEs) คืออะไร
SMEs ย่อมาจาก Small
and Medium Enterprises ชื่อภาษาไทยคือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(บางที่เรียกว่าธุรกิจกลาง-เล็ก) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่
ได้แก่
1) การผลิต (Product
Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural
Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่
(Mining)
2) การค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
3) การบริการ (Service Sector)
2) การค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
3) การบริการ (Service Sector)
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากที่ถูกให้ออก ถูกลดขนาดองค์กร
หรือเบื่อหน่ายจากการทำงานในองค์กร
และเริ่มสนใจออกเผชิญโชคในเส้นทางการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก
โชคไม่ดีที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ล้มเหลวในการตัดสินใจวางแผนหรือกลยุทธ์ทางการตลาด
มีแนวคิดทางการตลาดจำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับดำเนินการทางการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กสำหรับนำมาพิจารณาและวางแผน
แต่สำหรับคำแนะนำครั้งนี้จะเลือกมาเพียง
10 แนวคิดสำหรับการตลาดธุรกิจขนาดเล็กเท่านั้น
แนวคิดที่
1 : ความสอดคล้อง (Consistency)
ความสอดคล้องเป็นแนวคิดด้านการตลาดอันหนึ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กเท่านั้น มักไม่พบในการนำไปใช้เป็นแนวคิดทางการตลาดสำหรับธุรกิจทั่วๆ ไป ผู้เขียนเคยได้ทำงานร่วมกับผู้ค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย ซึ่งพบว่ามีความไม่สอดคล้องอย่างมากในทุกพื้นที่ของการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ความสอดคล้องจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อขายและเพิ่มคุณค่าให้กับตราสินค้า
ความสอดคล้องเป็นแนวคิดด้านการตลาดอันหนึ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กเท่านั้น มักไม่พบในการนำไปใช้เป็นแนวคิดทางการตลาดสำหรับธุรกิจทั่วๆ ไป ผู้เขียนเคยได้ทำงานร่วมกับผู้ค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย ซึ่งพบว่ามีความไม่สอดคล้องอย่างมากในทุกพื้นที่ของการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ความสอดคล้องจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อขายและเพิ่มคุณค่าให้กับตราสินค้า
แนวคิดที่ 2 : การวางแผน (Planning)
เมื่อเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับการตลาด การวางแผนเป็นเป็นแนวคิดหลักต่อมาที่จะต้องเริ่มดำเนินการ การวางแผนเป็นส่วนที่จำเป็นมากสำหรับการตลาดธุรกิจขนาดเล็กหรือการทำการตลาดระดับอื่นๆ สำหรับเจ้าของกิจการจำนวนมาก ผู้จัดการทางการตลาด และยามเมื่อมีระดับการวางแผน CMOs ไม่ดี ให้เวลากับการวางแผนกลยุทธ์
แนวคิดที่ 3 : กลยุทธ์ (Strategy)
กลยุทธ์เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติภายหลังการวางแผนทันทีเพราะว่ากลยุทธ์ของคุณจะเป็นรากฐานของกิจกรรมทางการตลาด ในกระบวนการวางแผนคุณต้องทำการพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง กำหนดกลุ่มเป้าหมาย ทำอย่างไรจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ และวิธีการที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายกลายมาเป็นลูกค้า
เป้าหมายทางการตลาดถือเป็นอีกแนวคิดที่สำคัญสำหรับตลาดธุรกิจขนาดเล็ก กำหนดให้แน่ชัดว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เจ้าของกิจการธุรกิจขนาดเล็กจะมุ่งเน้นว่าเป็นลูกค้าเฉพาะและนับเป็นการลดการสูญเสียทางการตลาด การกำหนดเป้าหมายทางการตลาดจะทำให้การดำเนินการตามแนวคิดการตลาดอื่นๆ ทำได้ง่ายขึ้นในการทำให้บรรลุและประสบความสำเร็จสูงสุด
แนวคิดที่ 5 : งบประมาณ (Budget)
ถึงแม้ว่าจะอยู่ในอันดับที่ 5 แต่การจัดสรรงบประมาณก็มีความสำคัญตลอดกระบวนการทั้งหมด การจัดทำงบประมาณทางการตลาดมักเป็นเรื่องยากที่สุดและเป็นส่วนที่มีความคลาดเคลื่อนมากที่สุดสำหรับการตลาดของธุรกิจขนาดเล็ก เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางการตลาดและมักจบลงด้วยการวางงบประมาณคลาดเคลื่อน สิ่งสำคัญที่สุดในแนวคิดด้านการตลาดคือการจัดทำงบประมาณทางการตลาดตามความเป็นจริง ทั้งนี้คุณควรพิจารณาการกระจายการใช้จ่ายอย่างเป็นประโยชน์ของเงินทุนที่มีอยู่
แนวคิดที่
6 : ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)
ส่วนประสมทางการตลาดหมายความรวมถึง ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ในกรณีเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กคุณจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (หรือบริการ) การจัดสรรราคา การจัดหาสถานที่และวิธีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และหาช่องทางชักจูงให้คนรู้จักผลิตภัณฑ์ของคุณ
ส่วนประสมทางการตลาดหมายความรวมถึง ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ในกรณีเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กคุณจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (หรือบริการ) การจัดสรรราคา การจัดหาสถานที่และวิธีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ และหาช่องทางชักจูงให้คนรู้จักผลิตภัณฑ์ของคุณ
แนวคิดที่
7 : เว็บไซต์ (Website)
ในตลาดปัจจุบันธุรกิจทุกๆ ขนาดจะต้องมีเว็บไซต์ เว็บไซต์ทางธุรกิจไม่ควรมีจำนวนหน้าที่น้อยเกินไปหรือข้อมูลล้าสมัย ลูกค้าจะใช้เวลากว่ากว่า 60% เพื่อค้นหาข้อมูลเว็บไซต์ก่อนตัดสินใจซื้อ แนวคิดการทำตลาดนี้จะมุ่งเน้นการสร้างความประทับใจให้เพิ่มขึ้นในทุกองค์ประกอบ แต่คุณควรจะเริ่ม อย่างน้อยดำเเนินการพัฒนาเว็บไซต์ขนาดเล็กและมีการให้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ
ในตลาดปัจจุบันธุรกิจทุกๆ ขนาดจะต้องมีเว็บไซต์ เว็บไซต์ทางธุรกิจไม่ควรมีจำนวนหน้าที่น้อยเกินไปหรือข้อมูลล้าสมัย ลูกค้าจะใช้เวลากว่ากว่า 60% เพื่อค้นหาข้อมูลเว็บไซต์ก่อนตัดสินใจซื้อ แนวคิดการทำตลาดนี้จะมุ่งเน้นการสร้างความประทับใจให้เพิ่มขึ้นในทุกองค์ประกอบ แต่คุณควรจะเริ่ม อย่างน้อยดำเเนินการพัฒนาเว็บไซต์ขนาดเล็กและมีการให้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ
แนวคิดที่
8 : ตราสินค้า (Branding)
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยมักจะละเลยความคิดนี้ การตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจะต้องมุ่งเน้นแนวความคิดด้านการตลาดเช่นเดียวกับองค์กรขนาดใหญ่ การสร้างตราสินค้าประกอบไปด้วย รูปภาพ โลโก้ แบบรายการ แผนงาน การจัดเตรียม และภาพลักษณ์ของตราสินค้าและองค์กรของคุณ การสร้างตราสินค้าคือการทำอย่างไรให้ลูกค้ารับรู้ถึงผลิตภัณฑ์และองค์กร ให้แน่ใจว่าได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับชนิดของตราสินค้าที่คุณกำลังสร้างขึ้นผ่านขั้นตอนของการวางแผนและดำเนินการ
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยมักจะละเลยความคิดนี้ การตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจะต้องมุ่งเน้นแนวความคิดด้านการตลาดเช่นเดียวกับองค์กรขนาดใหญ่ การสร้างตราสินค้าประกอบไปด้วย รูปภาพ โลโก้ แบบรายการ แผนงาน การจัดเตรียม และภาพลักษณ์ของตราสินค้าและองค์กรของคุณ การสร้างตราสินค้าคือการทำอย่างไรให้ลูกค้ารับรู้ถึงผลิตภัณฑ์และองค์กร ให้แน่ใจว่าได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับชนิดของตราสินค้าที่คุณกำลังสร้างขึ้นผ่านขั้นตอนของการวางแผนและดำเนินการ
แนวคิดที่ 9 : การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณา
(Promotion and Advertising)
การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาเป็นแนวคิดทางการตลาดที่ค่อนข้างซับซ้อน และต้องคำนึงถึงในธุรกิจทุกประเภทและทุกผลิตภัณฑ์และบริการ เมื่อคุณดำเนินการตามแนวคิดทางการตลาด 8 ข้อข้างต้น สุดท้ายคุณจะต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักคุณและผลิตภัณฑ์ของคุณ การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาที่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการจดจำตราสินค้า และท้ายที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของยอดขาย
การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาเป็นแนวคิดทางการตลาดที่ค่อนข้างซับซ้อน และต้องคำนึงถึงในธุรกิจทุกประเภทและทุกผลิตภัณฑ์และบริการ เมื่อคุณดำเนินการตามแนวคิดทางการตลาด 8 ข้อข้างต้น สุดท้ายคุณจะต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักคุณและผลิตภัณฑ์ของคุณ การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาที่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการจดจำตราสินค้า และท้ายที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของยอดขาย
แนวคิดที่
10 : การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM)
แนวคิดการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ถูกนำมาใช้ในระบบอุตสาหกรรมจำนวนมากในการทำตลาดทั่วโลก มีซอฟแวร์และบริการหลายประเภทถูกนำเสนอเพื่อช่วยเหลือธุรกิจหลายๆ ขนาดในการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เนื่องจากมีใช้มากและมีประโยชน์มากมายในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักจะมองแนวคิดนี้ว่าธุรกิจของพวกเขาไม่ได้มีขนาดใหญ่เพียงพอหรือมีเงินทุนในการดำเนินการให้บรรลุผล ไม่จำเป็นต้องทำเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ๆ การรักษาลูกค้าอย่างเหมาะสมด้วยการจัดการลูกค้าสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความภักดีและการเป็นลูกค้าอย่างเหนียวแน่น
แนวคิดการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ถูกนำมาใช้ในระบบอุตสาหกรรมจำนวนมากในการทำตลาดทั่วโลก มีซอฟแวร์และบริการหลายประเภทถูกนำเสนอเพื่อช่วยเหลือธุรกิจหลายๆ ขนาดในการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เนื่องจากมีใช้มากและมีประโยชน์มากมายในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักจะมองแนวคิดนี้ว่าธุรกิจของพวกเขาไม่ได้มีขนาดใหญ่เพียงพอหรือมีเงินทุนในการดำเนินการให้บรรลุผล ไม่จำเป็นต้องทำเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ๆ การรักษาลูกค้าอย่างเหมาะสมด้วยการจัดการลูกค้าสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความภักดีและการเป็นลูกค้าอย่างเหนียวแน่น
แนวคิดการตลาดข้างต้นควรต้องดำเนินการพิจารณา วิจัย วางแผน และดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ถึงกระนั้นการตลาดไม่ควรหยุดเพียงเท่านี้ ในธุรกิจที่มีความแตกต่างและมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นจะต้องพิจารณามากยิ่งขึ้น แต่แนวคิดข้างต้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของแผนการตลาดของทุกๆ ธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น