วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

งบประมาณในการทำวุ้นแฟนซี


งบประมาณในการทำวุ้นแฟนซี

วุ้นผง 1 ซอง 55 บาท  น้ำตาลทราย 1.6 กก. 42 บาท  มะพร้าวขูดขาว 1.5 กก.   105 บาท   แป้งทองหยอด 1 ช้อนโต๊ะ  3 บาท  เกลือป่น 1 บาทน้ำ + แก็ส  = 30 บาท  รวม  235  บาท

จากอัตราส่วนข้างต้นจะได้ขนมวุ้นแฟนซี 1 ถาด (ถาดขนาด 12 x 12 นิ้ว)

ขายส่งถ้วยละ 10 บาท ถ้าตัดขาย100ถ้วย จะได้เงิน 1,000 บาท

ทิศทางการเลือกประกอบอาชีพธุรกิจทำวุ้น


ก่อนพิจารณากำหนดทิศทางเลือกประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาม ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้

ประการแรก ควรเลือกอาชีพที่ชอบหรือคิดว่าถนัด สำรวจตัวเองว่าสนใจ อาชีพอะไร ชอบหรือถนัดด้านไหน มีความสามารถอะไรบ้าง ที่สำคัญคือต้อง การหรืออยากจะประกอบอาชีพอะไร จึงจะเหมาะสมกับตัวเองและครอบครัว กล่าวคือ พิจารณาลักษณะงานอาชีพ และพิจารณาตัวเอง พร้อมทั้งบุคคลในครอบครัวประกอบกันไปด้วย

ประการที่สอง จะต้องพัฒนาความสามารถของตัวเอง คือ ต้องศึกษารายละเอียดของอาชีพที่จะเลือกไปประกอบ ถ้าความรู้ความเข้าใจยังมีน้อย มีไม่เพียงพอก็ต้องทำการศึกษา ฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมจากบุคคล หรือหน่วยงานต่างๆ ให้มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในการเริ่มประกอบอาชีพที่ถูกต้อง เพื่อจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงของผู้มีประสบการณ์มาก่อน จักได้เพิ่มโอกาสความสำเร็จสมหวังในการไปประกอบอาชีพนั้นๆ

ประการที่สาม พิจารณาองค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ทำเลที่ตั้งของอาชีพที่จะทำไม่ว่าจะเป็นการผลิต การจำหน่าย หรือการให้บริการก็ตาม สภาพ แวดล้อมผู้ร่วมงาน พื้นฐานในการเริ่มทำธุรกิจ เงินทุน โดยเฉพาะเงินทุนต้องพิจารณาว่ามีเพียงพอหรือไม่ถ้าไม่พอจะหาแหล่งเงินทุนจากที่ใด

 

 

 

 

การลงทุน


การลงทุน/แหล่งเงินทุน  

1. ทรัพยากรในท้องถิ่น การสำรวจทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นว่าสามารถนำมาใช้ในการผลิตสินค้า ซึ่งจะช่วยประหยัดต้นทุน ค่าใช้จ่าย และเป็นการสร้างงานให้คนในท้องถิ่น

2. ทุน เป็นสิ่งที่จำเป็นปัจจัยพื้นฐานของการประกอบอาชีพใหม่ โดยจะต้องวางแผนและแนวทางการดำเนินธุรกิจไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะทราบว่าต้องใช้เงินทุนประมาณเท่าไร บางอาชีพใช้เงินทุนน้อยปัญหาย่อมมีน้อย แต่ถ้าเป็นอาชีพที่ต้องใช้เงินทุนมากจะต้องพิจารณาว่ามีทุนเพียงพอหรือไม่ซึ่งอาจ เป็นปัญหาใหญ่ ถ้าไม่พอจะหาแหล่งเงินทุนจากที่ใด อาจจะได้จากเงินเก็บออม หรือการกู้ยืมจากธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกไม่ควรลงทุนจนหมดเงินเก็บออมหรือลงทุนมากเกินไป

 

การวิเคราะห์ตลาด



2   การวิเคราะห์ตลาด

1. การตลาด เป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดปัจจัยหนึ่ง เพราะหากสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นไม่เป็นที่นิยมและไม่สามารถสร้างความพอใจให้แก่ผู้บริโภคได้ก็ถือว่ากระบวนการทั้งระบบไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นการวางแผนการตลาด ซึ่งปัจจุบันมีการแข่งขันสูง จึงควรได้รับความสนใจในการพัฒนา รวมทั้งต้องรู้และเข้าใจในเทคนิคการผลิต การบรรจุและการหีบห่อ ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้สินค้าและบริการของเราเป็นที่นิยมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ต่อไป

2. การจัดการ เป็นเรื่องของเทคนิคและวิธีการ จึงต้องรู้จักการวางแผนการทำงานในเรื่องของตัวบุคคลที่จะร่วมคิด ร่วมทำและร่วมทุน ตลอดจนเครื่องมือ เครื่องใช้และกระบวนการทำงาน

3. การเลือกกลุ่มเป้าหมาย เราอาจแบ่งกลุ่มลูกค้า โดยแบ่งตามอายุ ความชอบ เพศ ระดับการศึกษา การเลือกซื้อสินค้า ราคา และรสชาติ เป็นต้น

4. การวิเคราะห์ลูกค้า  
1) เราต้องรู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
2) รู้วัตถุประสงค์ในการบริโภคสินค้า
3) รู้วิธีการตัดสินใจซื้อของลูกค้า

ประโยชน์ของวุ้น






ประโยชน์ของวุ้น นอกจากจะใช้เป็นอาหารแล้ว การที่วุ้นมีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถแข็งตัวได้ เมื่อใช้ในระดับความเข้มข้นเพียง ร้อยละ 0.5 ทำให้มีการนำวุ้นไปใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมอาหาร โดยเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์นม ขนมปัง และอาหารกระป๋อง เพื่อให้อาหารมีความเหนียวข้นน่ารับประทานและในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง เครื่องหนัง และสิ่งท นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์โดยใช้ในการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ใช้เป็นส่วนประกอบของยาระบายใช้เป็นทันตวัสดุ และใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช เป็นต้น

ที่มาของวุ้น




วุ้น (agaragar) เป็นสารประกอบของน้ำตาลหลายโมเลกุล (polysaccharide) 2 กลุ่มคือ เอกาโรส (agarose) และเอกาโรเพกติน (agaropectin) ซึ่งสกัดได้จากสาหร่ายทะเลให้วุ้น (agarophytes) เป็นสาหร่ายสีแดงในดิวิชั่นโรโดไฟต้า (Division Rhodophyta) สาหร่ายสกุลที่นิยมใช้เป็นหลักในการสกัดวุ้นในเชิงอุตสาหกรรม ได้แก่ Gelidium. Gracilaria และ Pterocladia โดยใช้สกุล Ceramium, Campylae-phora และ Ahnfeltia เป็นตัวเสริมนอกจากสาหร่ายในสกุลดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกหลายสกุลที่มีความสำคัญในเชิงอุตสาหกรรม เนื่องจากมีการกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลของประเทศต่างๆ ในเขตศูนย์สูตร และเขตอบอุ่น ซึ่งได้แก่ สาหร่ายในสกุล Gelidiella, Acanthopeltis, Chondrus, Hypnea, Gracilariopsis, Gigartina, Suluria, Phyllophora, Furcellaria และ Eucheuma
 

สิ่งสำคัญของการทำวุ้น


“สิ่งสำคัญของวุ้นอยู่ที่น้ำ ควรเลือกใช้น้ำต้มสุก สะอาด ปราศจากสี กลิ่น รส มิฉะนั้น วุ้นที่ได้จะมีกลิ่นเหม็นคาว ส่วนรูปแบบ อาศัยแม่พิมพ์ที่แปลกตา อาทิ รูประฆัง โบว์ สัตว์ต่างๆ ตัวการ์ตูน หรือรูปอักษรจีน ภาษาเกาหลี ญี่ปุ่น รวมไปถึงลายที่ได้รับความนิยม ไม่ว่าจะเป็น สัญลักษณ์วันเกิด หัวใจ รูปโบว์ ดอกกุหลาบ ผลไม้ ตัวอักษร เป็นต้น”

การทำวุ้น

ส่วนผสม
น้ำสะอาด 3 ถ้วย
ผงวุ้น 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทรายทดลองเพิ่มจนหวานพอใจ

ส่วนผสม ของหน้ากะทิ
กะทิ 3 ถ้วย
ผงวุ้น 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย ตามความชอบ
เกลือ นิดหน่อย

วิธีทำตัววุ้น
1.ใส่น้ำลงไปในหม้อ เทผงวุ้นลงไปคนจนละลายเข้ากัน จากนั้นนำไปตั้งไฟ คนไปเรื่อยๆอย่าหยุด
2.พอเดือดเติมน้ำตาลทรายลงไปคนจนน้ำตาลละลาย รอจนให้เดือดอีกครั้ง ยกออกจากเตา
3. ให้เทใส่ถาด หรือแบบพิม ที่เราจะทำแบบของวุ้น

การทำหน้ากะทิของวุ้น
1.ใส่กะทิไปในหม้อใส่ผงวุ้นแล้วคนให้เข้ากันก่อน จากนั้นยกขึ้นตั้งไฟ คนไปเรื่อยๆ
2.เมื่อกะทิเริ่มเดือด เติมน้ำตาลทราย,เกลือ คนละลาย พอน้ำตาลและเกลือละลายยกลงมา
3.ก็นำหน้ากะทิ มาเทลงบนตัววุ้นที่เราทำทิ้งไว้ และจับตัวเป็นวุ้นแล้วดูแค่ประมาณจับตัวเป็นก้อนก้ใช้ได้ ไม่ต้องรอจนแข็งเป็นวุ้นก็เทได้ เพราะถ้าแข็งแล้ว เรานำกะทิมาเทลงไปจะไม่ติดกัน ต้องระวังให้มาก
4.เมื่อเทหน้ากะทิแล้ว ก็รอให้เย็น แล้วนำวุ้นกะทิที่ได้เข้าแช่ในตู้เย็นได้เลย

เคล็ดลับการทำวุ้น





สิ่งที่สำคัญในการทำวุ้น คือวัตถุดิบ ผู้ทำควรเลือกยี่ห้อวุ้นที่จะนำมาใช้ เพราะวุ้นแต่ละยี่ห้อมีคุณสมบัติทางเคมีในการดูดน้ำ ความยืดหยุ่นของเนื้อผิวสัมผัสที่ไม่เหมือนกัน ผู้บริโภคจะสามารถแยกแยะออก เมื่อตอนรับประทาน จะอร่อยหรือไม่อร่อย วัตถุดิบมีส่วนสำคัญ
ผู้ผลิตควรคำนึงถึงการบรรจุหีบห่อ เพื่อให้วุ้นดูน่ารับประทาน และเป็นที่สะดุดตา
การเริ่มต้นหัดทำ การคิดจะทำวุ้นขาย ต้องมองตลาด ดูว่ากลุ่มลูกค้าว่าชอบวุ้นแบบไหน เช่น อาจจะจะชอบวุ้นสี วุ้นกระทิ วุ้นมะพร้าว ช่วงที่จะขายวุ้นได้ดีที่สุดคือ ช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือช่วงเทศกาล เหมาะจะเป็นของฝาก
*** เคล็ดลับการทำวุ้น วุ้นควรเก็บแช่ในตู้เย็นตลอดเวลา ควรบริโภคหรือขายภายใน 1 สัปดาห์ สำหรับกะทิ ควรเป็นกะทิที่คั้นจากมะพร้าวสดๆเท่านั้นจะหอมมันอร่อยกว่า

ธุรกิจขายวุ้น

 




วุ้นเป็นขนมที่ มีรสชาติหวานอร่อย ทำง่าย ราคาไม่แพง มีมากมายหลายแบบเราสามารถทำวุ้นเพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้เสริมหาเงินเข้ากระเป๋าได้ง่ายๆ วันนี้ มีสูตรการทำวุ้นมาฝาก หลายสูตร
ลองศึกษาและทดลองทำกินกันดูได้ เมื่อรสชาติอร่อยเข้าที่เข้าทางแล้วก้ทำขายได้สบายๆ

ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม




1.1 ลักษณะของธุรกิจขนาดย่อม
      1.  มีการบริหารงานอย่างอิสระ  ผู้บริหารเป็นเจ้าของกิจการเอง
      2.  เงินลงทุนมาจาการเก็บออมส่วนตัว  หรือได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มคนเล็ก ๆ 
      3.  เป็นการดำเนินงานในท้องถิ่น  โดยใช้แรงงานและทรัพยากรในท้องถิ่นนั้น 
      4.  เป็นธุรกิจขนาดเล็ก  เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกันทั้งด้าน  เงินทุน  แรงงาน  ทรัพย์สินและยอดขาย
      5.  เจ้าของกิจการทำงานหนัก  มีความอดทนสูง
      6.  สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
      7.  ต้นทุนการดำเนินงานต่ำ  ใช้เครื่องมือเครื่องจักรแบบง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน

1.2 ประโยชน์ของธุรกิจขนาดย่อม
      ธุรกิจขนาดย่อมมีการกระจายอยู่ทั่วประเทศ  เนื่องจากมีขนาดเล็กดำเนินงานได้ง่าย  จึงมีบทบาทสำคัญต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศดังนี้
      1.  สร้างงานใหม่ เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ  ทำให้เกิดภาวะคนว่างงาน  จำเป็นต้องหาอาชีพใหม่ให้กับตนเอง  ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากธุรกิจขนาดย่อม  เพราะต้นทุนการดำเนินงานต่ำ  แรงงานใช้จากบุคคลในครอบครัว  มีความเป็นอิสระในการทำงาน  ฯลฯ  และธุรกิจขนาดย่อมสามารถเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ในอนาคตต่อไปได้
      2.  สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ธุรกิจขนาดย่อมเป็นองค์กรของผู้ผลิตรายใหม่ที่มีความพยายามสร้างสรรค์ผลงานของตนเองด้วยการลองถูกลองผิด  ก่อนที่จะขยายกิจการเมื่อผลิตภัณฑ์นั้นได้รับการยอมรับ  เช่น  การผลิตสบู่สมุนไพร  การผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา ฯลฯ
      3.  เพิ่มการแข่งขัน การมีธุรกิจขยดย่อมเข้ามาในตลาด  ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น  ธุรกิจขนาดย่อมจึงมีส่วนเพิ่มระดับการแข่งขันในทางเศรษฐกิจ
      4.  สนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดย่อมมีส่วนช่วยเหลือและสนับสนุนธุรกิจขนาดใหญ่ในด้านต่าง ๆ เช่น  ช่วยในการผลิต  การจัดจำหน่าย  การหาข้อมูลทางการตลาด ฯลฯ
      5.  เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการ โดยเฉพาะธุรกิจที่ต้องการความปราณีตการใช้ฝีมือและทักษะ  ธุรกิจขนาดย่อมจึงเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาความสามารถในการประกอบการ
      6.  เป็นการกระจายการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันการดำเนินงานของธุรกิจขนาดย่อมมีกระจายอยู่ตามชุมชนต่าง ๆ ย่อมมีบทบาทในการส่งเสริมการกระจายรายได้  และความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
      7.  เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ธุรกิจขนาดย่อมสามารถนำบุคคลซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ความสามารถมาถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนท้องถิ่นที่อาศัยอยู่  เป็นการอนุรักษ์ความรู้ถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังได้ศึกษาและพัฒนาผลผลิต  เช่น  การผลิตสินค้าพื้นบ้านประเภทหัตถกรรมของชุมชน  เช่น  การสานไม้ไผ่  การทอผ้าฝ้าย ผ้าไหม  เป็นต้น
      8.  เป็นการระดมทุน ธุรกิจขนาดย่อมเป็นการรวบรวมเงินทุนของผู้ประกอบการและญาติพี่น้อง  ก่อให้เกิดประโยชน์ทางธุรกิจ  จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการระดมทุน

1.3 ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
ผู้ประกอบการ (Entrepreneur)  คือบุคคลที่จัดตั้งองค์กรธุรกิจขึ้นโดยยอมรับความเสี่ยงภัยเพื่อหวังกำไร  เหตุผลสำคัญที่ทำให้บุคคลประสงค์จะเป็นเจ้าของกิจการเองได้แก่
      1.  ผลกำไร การเป็นเจ้าของกิจการจะทำให้ได้รับผลกำไรอย่างเต็มที่  โดยไม่ต้องแบ่งปันให้บุคคลอื่น  ซึ่งสร้างความมั่งคั่งร่ำรวยให้กับเจ้าของกิจการได้เป็นอย่างดี
      2.  ความพึงพอใจส่วนบุคคล ผู้ประกอบการธุรกิจต้องการทำงานที่มีความพึงพอใจ  และสนุกกับการแก้ไขปัญหา
      3.  สร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว การประกอบธุรกิจขนาดย่อมเกิดจากบุคคลในครอบครัวร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน  ก่อให้เกิดความรัก  ความสามัคคี  และความรับผิดชอบ  ตลอดจนความสัมพันธ์ทีดีภายในครอบครัว
      4.  มีอิสระในการทำงาน การประกอบธุรกิจด้วยตนเองย่อมมีอิสระในการทำงานด้วยการเลือกเวลาการทำงาน  อาชีพ  การลงทุน  การจัดการด้วยตนเอง
      5.  เป็นที่ยอมรับของสังคม เจ้าของกิจการย่อมมีสถานภาพทางสังคมที่ดี  เป็นที่ยอมรับนับถือของชุมชน  สังคมในท้องถิ่น  เช่น  เป็นสมาชิกสมาคมต่าง ๆ 

1.4 คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม
      บุคคลที่มีความสนใจ  และเตรียมตัวเข้าสู่ธุรกิจขนาดย่อม  ต้องมีคุณสมบัติของนักธุรกิจที่ดี คือ  
      1.  มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับงานอาชีพ  จากการศึกษาเล่าเรียนและการทำงานจะทำให้มีความรู้และประสบการณ์พื้นฐาน  สามารถนำมาประยุกต์กับธุรกิจของตนเองได้
      2.  มีความพร้อมที่จะทำงานหนัก  มีความอดทน
      3.  มีมนุษยสัมพันธ์ มีอัธยาศัยที่ดีกับบุคคลทั่วไป
      4.  สื่อสารกับบุคคลอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      5.  มีภาวะผู้นำ
      6.  มีความภาคภูมิใจในผลงาน
      7.  มีความรับผิดชอบ
      8.  กล้าเสี่ยงและกล้าตัดสินใจ

      สรุปคุณสมบัติของผู้ประกอบการที่ต้องการความสำเร็จ  คือ  มีความพร้อมด้านจิตใจ  ความรู้ความสามารถ มีมนุษยสัมพันธ์  ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร  และความสามารถในการบริหารจัดการ

1.5 ประเภทของธุรกิจขนาดย่อมที่ประสบความสำเร็จ
      1.  การอบรมคอมพิวเตอร์สำหรับเด็ก
      2.  การขายอาหาร
      3.  การขายสินค้าอุปโภคบริโภค
      4.  การดูแลรักษาสุขภาพ
      5.  การซักอบรีด
      6.  การขายกาแฟ
      7.  การขายโทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

1.6 การสร้างความสำเร็จของธุรกิจขนาดย่อม
      ธุรกิจขนาดย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จต้องอาศัยปัจจัยต่อไปนี้
      1.  เงินทุน ผู้ประกอบการจะต้องวางแผนการใช้เงินทุน  การหาแหล่งเงินทุนเพื่อดำเนินธุรกิจ  เช่น  จากเงินออมส่วนตัว  เงินกู้ยืมจากสถานบันการเงิน  เช่น  ธนาคารอมสิน  ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เป็นต้น
      2.  บุคลกร ผู้ประกบอาจจะต้องหาบุคคลเข้ามาร่วมงานด้วยการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือตลาดจนให้แรงจูงใจที่เหมาะสม  เช่น  ค่าตอบแทนที่ดี  เหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์
      3.  การตลาด ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมจะต้องมีความรู้ด้านการตลาด  เพื่อให้ทราบความต้องการของผู้บริโภค  คุณภาพและปริมาณผลิตภัณฑ์  ตลาดจนราคาและสถานที่จำหน่าย  เพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
      4.  มีข้อมูลที่ถูกต้อง ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องรู้จักศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอย่างรอบคอบ เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจได้ถูกต้อง
      5.  ความยืดหยุ่น โครงสร้างของธุรกิจขนาดย่อมมีขอบข่ายแคบ  ผู้ประกอกการมีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ  สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว
      6.  พัฒนาผลิตภัณฑ์ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ตลอดเวลา  เนื่องจากผู้ประกอบการมีอำนาจการตัดสินใจด้วยตนเอง  ทันต่อความต้องการ  และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
      7.  มีความสัมพันธ์กับลูกค้า ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมสามารถสร้างความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับลูกค้าได้เป็นอย่างดี  รู้จักความต้องการของลูกค้า  สามารถสร้างความพึงพอใจในการให้บริการได้ถูกต้อง
      8.  คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ธุรกิจขนาดย่อมมีโอกาสพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ได้ตามความพึงพอใจของลูกค้า  สามารถรักษาลูกค้า  เพิ่มยอดขายและมีผลกำไร

1.7 สาเหตุของความล้มเหลวของธุรกิจขนาดย่อม
      1.  ปัญหาด้านการจัดการ ผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อมส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และขาดทักษะในการจัดการ  เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมเป็นกิจการของตนเอง  จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถในทุก ๆ ด้าน  เช่น  ความเป็นผู้นำ  รู้จักการวางแผนที่ดี  การนำเสนอขายและให้บริการลูกค้า  เป็นต้น
      2.  ปัญหาด้านการเงิน การประกอบธุรกิจขนาดย่อม  ผู้ประกอบการ  คือ  เจ้าของกิจการการควบคุมด้านการเงินไม่มีมาตรการที่ดีพอ  ก่อให้เกิดการขาดแคลนเงินทุน  มีการรั่วไหลของการใช้จ่ายทำให้ธุรกิจขาดสภาพคล่องจึงทำให้ธุรกิจล้มเหลวได้ง่าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ธุรกิจขนาดย่อม


ธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการบริการ ธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชน เป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใด ไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพล ของบุคคล หรือธุรกิจอื่น มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำ และมีพนักงานจำนวนไม่มาก

ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม

1.               ธุรกิจขนาดย่อม ช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมช่วยให้เกิดการกระจายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจ ไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ ทำให้เกิดการจ้างงานและประชาชน มีรายได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น

2.               ธุรกิจขนาดย่อม เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่เพราะความเจริญก้าวหน้าของ ธุรกิจขนาดย่อมทำให้ธุรกิจมั่นคงมียอดการผลิตที่สูงขึ้น และมีการนำเทคโนโลยี ที่สูงขึ้นมาใช้ในการผลิตซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นฐานไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่

3.               ธุรกิจขนาดย่อม เป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ ๆ เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิด และผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด โดยที่ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยง ต่อการลงทุน

SME คืออะไร?

คำว่า SME นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการของภาษาไทย คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั่นเอง.

คงเคยได้ยิน ได้ฟังกันมาบ้างแล้ว และอาจจะสงสัย หรือว่ามึนงง ไอ้เจ้า “SME” แท้ที่จริงนั้น sme คืออะไร กันแน่ ทำไมผู้ใหญ่หลายท่าน ถึงพยายามที่จะช่วยกัน ส่งเสริมและผักดันให้มีการลงทุน ในธุรกิจSME

คำว่า SME นั้นเป็นคำย่อ ของคำว่า Small and Medium Enterprise (SME) ในภาษาอังกฤษนั่นเอง สำหรับคำที่ใช้กันอย่างเป็นทางการ ของภาษาไทยคือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนั่นเอง

สำหรับประเทศไทย ได้มีกฎหมาย ธุรกิจSME ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเรียกว่า พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม พ.ศ. 2543 โดยตาม กฎหมายฉบับนี้นั้น ได้ให้อำนาจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการกำหนดว่า ใครบ้างที่จะได้ ขึ้นชื่อว่า เข้าข่ายเป็น ธุรกิจSMEซึ่งจะประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวง ก่อนหน้านี้ จะใช้เกณฑ์ ในการวัดว่า ธุรกิจไหนเป็น SME ดังนี้คือ

·         กิจการที่ดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตหรือบริการ มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน สองร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สองร้อยคน

·         กิจการค้าส่ง ที่มีทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หนึ่งร้อยล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน ห้าสิบคน

·         กิจการค้าปลีก ที่มีมูลค่าทรัพย์สินถาวรไม่เกิน หกสิบล้านบาท มีการจ้างงานไม่เกิน สามสิบคน

เอสเอ็มอี (SME หรือ SMEs) คืออะไร

SMEs ย่อมาจาก Small and Medium Enterprises ชื่อภาษาไทยคือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (บางที่เรียกว่าธุรกิจกลาง-เล็ก) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

1) การผลิต (Product Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing) และเหมืองแร่ (Mining)
2) การค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
3) การบริการ (Service Sector)

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมามีผู้คนจำนวนมากที่ถูกให้ออก  ถูกลดขนาดองค์กร  หรือเบื่อหน่ายจากการทำงานในองค์กร  และเริ่มสนใจออกเผชิญโชคในเส้นทางการเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก   โชคไม่ดีที่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ล้มเหลวในการตัดสินใจวางแผนหรือกลยุทธ์ทางการตลาด 

  มีแนวคิดทางการตลาดจำนวนมากที่ถูกสร้างขึ้นสำหรับดำเนินการทางการตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กสำหรับนำมาพิจารณาและวางแผน   แต่สำหรับคำแนะนำครั้งนี้จะเลือกมาเพียง 10 แนวคิดสำหรับการตลาดธุรกิจขนาดเล็กเท่านั้น

 

          แนวคิดที่ 1 : ความสอดคล้อง (Consistency)
         
ความสอดคล้องเป็นแนวคิดด้านการตลาดอันหนึ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็กเท่านั้น  มักไม่พบในการนำไปใช้เป็นแนวคิดทางการตลาดสำหรับธุรกิจทั่วๆ ไป   ผู้เขียนเคยได้ทำงานร่วมกับผู้ค้าทั้งรายใหญ่และรายย่อย   ซึ่งพบว่ามีความไม่สอดคล้องอย่างมากในทุกพื้นที่ของการซื้อขายสินค้าหรือบริการ    ความสอดคล้องจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซื้อขายและเพิ่มคุณค่าให้กับตราสินค้า

 


           แนวคิดที่ 2 : การวางแผน (Planning)
         
เมื่อเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กตัดสินใจที่จะดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับการตลาด   การวางแผนเป็นเป็นแนวคิดหลักต่อมาที่จะต้องเริ่มดำเนินการ   การวางแผนเป็นส่วนที่จำเป็นมากสำหรับการตลาดธุรกิจขนาดเล็กหรือการทำการตลาดระดับอื่นๆ   สำหรับเจ้าของกิจการจำนวนมาก  ผู้จัดการทางการตลาด และยามเมื่อมีระดับการวางแผน CMOs ไม่ดี   ให้เวลากับการวางแผนกลยุทธ์

 


          
แนวคิดที่ 3 : กลยุทธ์ (Strategy)
         
กลยุทธ์เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติภายหลังการวางแผนทันทีเพราะว่ากลยุทธ์ของคุณจะเป็นรากฐานของกิจกรรมทางการตลาด   ในกระบวนการวางแผนคุณต้องทำการพัฒนากลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง กำหนดกลุ่มเป้าหมาย  ทำอย่างไรจะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้  และวิธีการที่จะทำให้กลุ่มเป้าหมายกลายมาเป็นลูกค้า


 

          
แนวคิดที่ 4 : เป้าหมายทางการตลาด (Target Market)
         
เป้าหมายทางการตลาดถือเป็นอีกแนวคิดที่สำคัญสำหรับตลาดธุรกิจขนาดเล็ก   กำหนดให้แน่ชัดว่าใครเป็นกลุ่มเป้าหมายที่เจ้าของกิจการธุรกิจขนาดเล็กจะมุ่งเน้นว่าเป็นลูกค้าเฉพาะและนับเป็นการลดการสูญเสียทางการตลาด   การกำหนดเป้าหมายทางการตลาดจะทำให้การดำเนินการตามแนวคิดการตลาดอื่นๆ ทำได้ง่ายขึ้นในการทำให้บรรลุและประสบความสำเร็จสูงสุด


 


          
แนวคิดที่ 5 : งบประมาณ (Budget)
         
ถึงแม้ว่าจะอยู่ในอันดับที่ แต่การจัดสรรงบประมาณก็มีความสำคัญตลอดกระบวนการทั้งหมด  การจัดทำงบประมาณทางการตลาดมักเป็นเรื่องยากที่สุดและเป็นส่วนที่มีความคลาดเคลื่อนมากที่สุดสำหรับการตลาดของธุรกิจขนาดเล็ก    เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กส่วนใหญ่ขาดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางการตลาดและมักจบลงด้วยการวางงบประมาณคลาดเคลื่อน   สิ่งสำคัญที่สุดในแนวคิดด้านการตลาดคือการจัดทำงบประมาณทางการตลาดตามความเป็นจริง   ทั้งนี้คุณควรพิจารณาการกระจายการใช้จ่ายอย่างเป็นประโยชน์ของเงินทุนที่มีอยู่

 

          แนวคิดที่ 6 : ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix)
         
ส่วนประสมทางการตลาดหมายความรวมถึง ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด    ในกรณีเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กคุณจะต้องตัดสินใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ (หรือบริการ)  การจัดสรรราคา  การจัดหาสถานที่และวิธีการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์  และหาช่องทางชักจูงให้คนรู้จักผลิตภัณฑ์ของคุณ

 

          แนวคิดที่ 7 : เว็บไซต์ (Website)
         
ในตลาดปัจจุบันธุรกิจทุกๆ ขนาดจะต้องมีเว็บไซต์  เว็บไซต์ทางธุรกิจไม่ควรมีจำนวนหน้าที่น้อยเกินไปหรือข้อมูลล้าสมัย   ลูกค้าจะใช้เวลากว่ากว่า 60% เพื่อค้นหาข้อมูลเว็บไซต์ก่อนตัดสินใจซื้อ   แนวคิดการทำตลาดนี้จะมุ่งเน้นการสร้างความประทับใจให้เพิ่มขึ้นในทุกองค์ประกอบ   แต่คุณควรจะเริ่ม  อย่างน้อยดำเเนินการพัฒนาเว็บไซต์ขนาดเล็กและมีการให้ข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ

 

          แนวคิดที่ 8 : ตราสินค้า (Branding)
         
เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนไม่น้อยมักจะละเลยความคิดนี้   การตลาดสำหรับธุรกิจขนาดเล็กจะต้องมุ่งเน้นแนวความคิดด้านการตลาดเช่นเดียวกับองค์กรขนาดใหญ่   การสร้างตราสินค้าประกอบไปด้วย  รูปภาพ  โลโก้  แบบรายการ  แผนงาน  การจัดเตรียม  และภาพลักษณ์ของตราสินค้าและองค์กรของคุณ   การสร้างตราสินค้าคือการทำอย่างไรให้ลูกค้ารับรู้ถึงผลิตภัณฑ์และองค์กร   ให้แน่ใจว่าได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับชนิดของตราสินค้าที่คุณกำลังสร้างขึ้นผ่านขั้นตอนของการวางแผนและดำเนินการ

 

          แนวคิดที่ 9 : การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณา (Promotion and Advertising)
         
การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาเป็นแนวคิดทางการตลาดที่ค่อนข้างซับซ้อน  และต้องคำนึงถึงในธุรกิจทุกประเภทและทุกผลิตภัณฑ์และบริการ   เมื่อคุณดำเนินการตามแนวคิดทางการตลาด 8 ข้อข้างต้น   สุดท้ายคุณจะต้องทำให้กลุ่มเป้าหมายรู้จักคุณและผลิตภัณฑ์ของคุณ    การส่งเสริมการตลาดและการโฆษณาที่เหมาะสมจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการจดจำตราสินค้า และท้ายที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของยอดขาย


 

          แนวคิดที่ 10 : การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management : CRM)
         
แนวคิดการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ถูกนำมาใช้ในระบบอุตสาหกรรมจำนวนมากในการทำตลาดทั่วโลก   มีซอฟแวร์และบริการหลายประเภทถูกนำเสนอเพื่อช่วยเหลือธุรกิจหลายๆ ขนาดในการจัดการลูกค้าสัมพันธ์   เนื่องจากมีใช้มากและมีประโยชน์มากมายในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่   เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กมักจะมองแนวคิดนี้ว่าธุรกิจของพวกเขาไม่ได้มีขนาดใหญ่เพียงพอหรือมีเงินทุนในการดำเนินการให้บรรลุผล   ไม่จำเป็นต้องทำเช่นเดียวกับธุรกิจขนาดใหญ่ๆ    การรักษาลูกค้าอย่างเหมาะสมด้วยการจัดการลูกค้าสัมพันธ์เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความภักดีและการเป็นลูกค้าอย่างเหนียวแน่น

แนวคิดการตลาดข้างต้นควรต้องดำเนินการพิจารณา  วิจัย  วางแผน และดำเนินการ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก   ถึงกระนั้นการตลาดไม่ควรหยุดเพียงเท่านี้   ในธุรกิจที่มีความแตกต่างและมีองค์ประกอบเพิ่มขึ้นจะต้องพิจารณามากยิ่งขึ้น   แต่แนวคิดข้างต้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของแผนการตลาดของทุกๆ ธุรกิจ


 
ในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจองค์การภาคเอกชนได้เลิกกิจการและบางแห่งได้ลดจำนวนพนักงานลง ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานโดยเฉพาะพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ธุรกิจของสถาบันการเงิน  บริษัทส่งสินค้าออก ฯลฯ  บุคคลเหล่านี้ต้องดิ้นรน  เพื่อแสวงหาอาชีพใหม่เลี้ยงดูดตนเองและครอบครัว  ธุรกิจขนาดย่อมจึงเป็นอาชีพน่าสนใจของผู้ประกอบการใหม่ที่ใช้เงินทุน  และแรงงานในระยะเริ่มแรกไม่มากนัก